Tuesday, June 27, 2006

วิถีปฎิบัติจาก..ชุมชน


วิถีปฏิบัติจากพื้นที่...
บ้านทาป่าเปา หมูที่ 6 ตำบลทาปลาดุก อ.แม่ทา จ.ลำพูน
กับเรื่องราว ของคนต้นน้ำทาป่าเปา

เศรษฐกิจแบบพอเพียง...ระดับชุมชน

ระดับชุมชน
· ส่งเสริมสนับสนุนให้คนและครัวเรือนในชุมชน มีค่านิยมในการดำรงชีวิตแบบพอเพียง
รวมทั้งรู้จักวิเคราะห์การใช้จ่ายประจำวันของครอบครัว
· ส่งเสริมให้มีการรณรงค์การประหยัดอดออม และการจัดทำบัญชีครัวเรือน
· กระตุ้นให้ผู้นำองค์กรชุมชนใช้ข้อมูลจากครัวเรือนแก้ปัญหาโดยครัวเรือนเอง

ทั้งนี้ โดยองค์กรของชุมชนต้องเป็น ผู้ประสานการดำเนินการ
· ประสานส่วนราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรพัฒนาเอกชน ให้ความรู้แก่คน/ครัวเรือน

ในชุมชน ให้เกิดค่านิยมการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

Friday, June 23, 2006

เศรษฐกิจแบบพอเพียง...ระดับครัวเรือน


ระดับครัวเรือน
  • วางแผนรายรับ-รายจ่าย ของครอบครัว ให้เพียงพอและเหมาะสม
  • บริหารทรัพยากรที่ครอบครัวมีอยู่ ให้เกิดเป็นรายได้และสามารถลดรายจ่ายได้
  • กระตุ้นให้สมาชิกในครอบครัว มีทัศนคติและค่านิยมการดำรงชีวิตแบบพอเพียง

เศรษฐกิจแบบพอเพียง...ระดับบุคคล

ระดับบุคคล
  • บุคคลมีพื้นฐานการดำรงชีวิตแบบพออย่พอกิน
  • ปรับวิถีชีวิตของตนเอง ด้านการดำรงชีวิต การประกอบอาชีพให้สามารถเลี้ยงตัวเองได้
  • รู้จักวิเคราะห์การดำรงชีวิตของตนเอง และการวางแผนการใช้จ่ายให้ตนเองได้

หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

พื้นที่ป่าต้นน้ำแม่ทา ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาน เขตต่อระหว่างจังหวัดลำปางกับลำพูน เป็นบริเวณที่ตั้งของหมู่บ้านชุมชนตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ตลอดเขตลำน้ำแม่ทาที่ได้หล่อเลี้ยงผู้คนที่นี่มาอย่างยาวนานร้อยกว่าปีมาแล้วบ้านทาป่าเปา หมู่ที่ 6 ตำบลทาปลาดุก อ.แม่ทา จังหวัดลำพูน เป็นอีกหนึ่งหมู่บ้านที่อยู่ในเขตป่าต้นน้ำ และสามารถดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างสมดุลระหว่างคนกับป่า จึงเป็นหมู่บ้านตัวอย่าง หมู่บ้านต้นแบบให้กับชุมชนอื่นๆ ได้มาศึกษา ดูงาน แลกเปลี่ยนประสบการณ์ ในปี พ.ศ. 2549 นี้ บ้านทาป่าเปาเป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของจังหวัดลำพูน ที่เป็นแบบอย่างของวิถีชีวิตชุมชนอย่าง ในเรื่องของการดำรงชีวิตแบบพอเพียง ทั้งในเรื่องของการเก็บออม การลดรายจ่าย การเพิ่มรายได้ การเอื้ออาทรต่อกันของคนในชุมชน และหมู่บ้านทาป่าเปาเป็นที่ศึกษาดูงานให้กับชุมชนอื่นๆ ทั้งองค์กรชุมชน ภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะในเรื่องของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การรักษาป่าชุมชนห้วยทรายขาว กว่า 13,000 ไร่ มาอย่างยาวนานและยั่งยืน
ตอบแทนให้กับ...ป่าผู้ให้...

กำนันไพบูลย์ จำหงษ์ ผู้นำหมู่บ้านทาป่าเปา กรรมการหมู่บ้าน และชาวบ้าน เล่าให้ฟังว่า หมู่บ้านทาป่าเปาจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ. 2420 เป็นชุมชนที่อยู่ในเขตป่าที่มีสภาพป่าอุดมสมบูรณ์ตามแบบของป่าต้นน้ำโดยทั่วไป คือป่าเป็นตลาดของชุมชน เป็นแหล่งรวมของอาหารให้กับชุมชน ทั้งพืชผัก สมุนไพร สัตว์ป่า ของป่า มีลำห้วยหลายสาย ทั้งห้วยทรายขาว ห้วยกิ่วหมี ฯลฯ หล่อเลี้ยงชีวิตในป่าและคนในชุมชนอย่างต่อเนื่อง ไม่เคยขาดสาย เป็นการพึ่งพาอาศัยกัน เอื้อประโยชน์ต่อกันอย่างมีความสมดุล พอดี และพอเพียง ระหว่างป่ากับคน และคนกับคน...

แต่เมื่อความเจริญและการติดต่อสื่อสารกับโลกภายนอกชุมชนเพิ่มขึ้น การดำเนินชีวิตแบบพอเพียงและสมดุลระหว่างชุมชนกับป่าก็เปลี่ยนไป เมื่อมีการสร้างทางรถไฟหัวรถจักรไอน้ำผ่านเขตอำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน ความต้องการใช้ หลัวรถไฟ ในการเผาไหม้เป็นพลังงานสำหรับรถจักรไอน้ำ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่าไม้ถูกตัดทำลาย การเดินทางสะดวกสบายขึ้น จึงมีการขยายถิ่นฐาน และสร้างบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น หลายชุมชนในพื้นที่อำเภอแม่ทายึดอาชีพทำเฟอร์นิเจอร์ไม้ขายกันเป็นล่ำสัน ชาวบ้านทาป่าเปาก็นิยมเข้าป่าเลื่อยไม้เป็นแผ่นส่งขายให้กับช่างไม้ต่างบ้าน นอกจากนี้ คนบ้านทาป่าเปายังมีอาชีพหลักที่ทำรายได้ให้กับชุมชนในสมัยนั้นคือ การทำไร่อ้อยส่งให้กับโรงงานน้ำตาล อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปางซึ่งรายได้จากการทำไร่อ้อย หรือรับจ้างตัดอ้อย ทำให้ชาวบ้านเปลี่ยนฐานะความเป็นอยู่ จากบ้านที่เคยมุงหลังคาด้วยใบจากหรือสังกะสี ก็จะเปลี่ยนเป็น ดินขอ( กระเบื้องมุงหลังคาปั้นมือ ) เป็นค่านิยมกันว่าบ้านใดมุงหลังคาบ้านด้วยดินขอถือว่า มีฐานะการบุกรุก ถางป่า เพื่อทำไร่อ้อย ต้องขยายพื้นที่ป่าเข้าไปเรื่อยๆ เนื่องจากอ้อยจะให้ผลผลิตดีในพื้นที่เดิมเพียงสามปีเท่านั้น ใครมีกำลังมากเท่าใดก็ได้ผลตอบแทนมากเท่านั้น ไม่มีใครคิดได้... ไม่มีใครตระหนักรู้..ว่าการดำรงชีวิตอย่างพอดี...อย่างพอเพียง..ระหว่างคนต้นน้ำกับป่า...กำลังเลือนหายไป ไม่มีใครรู้สึกได้ว่า.. ถึงเวลาที่ป่าจะต้องได้รับการรักษา ฟื้นฟู ดูแล...จากคนต้นน้ำทาป่าเปา...เพราะทุกคนไม่เคยรู้สึกว่าป่าเป็นของพวกเขา แต่เข้าใจว่าป่าเป็นของกรมป่าไม้... เจ้าหน้าที่รัฐมีหน้าที่ต้องดูแลรักษาป่าไม้...


ภาพรวมของวิธีปฏิบัติที่ได้ผล

  • การมีเศรษฐกิจแบบพอเพียง เป็นการปฏิบัติโดยทุกคน ควรนำมาใช้ในชีวิตประจำวัน
  • เริ่มจากพื้นฐานความคิด การดำรงชีวิตในระดับพออยู่พอกิน แล้วพัฒนายกระดับขึ้นเป็นระดับเหลือกินเหลือใช้ จนกระทั่งสามารถทำการค้าขาย ที่เรียกว่าระดับมั่งมีศรีสุข ตามลำดับ

คำแนะนำ

  1. ควรปฏิบัติอย่างสอดคล้องสัมพันธ์กันทั้งระดับบุคคล ระดับครัวเรือน และระดับชุมชน
  2. ไม่ต้องปฏิบัติอย่างทั่วถึงและเคร่งครัด ปฏิบัติเพียงหนึ่งในสี่ของกลุ่ม / พื้นที่เป้าหมาย ก็สามารถทำให้สัมฤทธิ์ผลได้